Last updated: 1 เม.ย 2565 | 3766 จำนวนผู้เข้าชม |
น้ำท่วมเมื่อเกิดขึ้นแล้วถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างหนัก เป็นสถานการณ์ที่ยากเกินกว่าจะควบคุมได้และต้องใช้เวลาพอสมควรในการแก้ไข ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่พื้นที่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือพื้นที่เสี่ยงนั้น ก็ควรต้องเฝ้าระวังและรอการเเจ้งเตือนน้ำท่วมฉับพลันเเละน้ำป่าไหลหลากเช่นกัน ดังนั้น การเตรียมพร้อมรับมือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และนี่คือ 15 วิธีการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม
พยายามติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินอยู่ตลอดเวลา แนะนำเกาะติดสถานการณ์ได้เร็วสุดผ่านทาง เพจเฟซบุ๊ก หรือตามโซเชียลมีเดียช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งเพจข่าว หรือสาธารณภัย แต่ถ้าใครไม่สะดวกก็สามารถฟังรายงานข่าวได้จากสถานีวิทยุ หรือโทรทัศน์ได้เช่นกัน เพื่อเตรียมรับมือได้ทันเวลา และเพื่อความปลอดภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - DDPM Thailand หรือทางเว็บไซต์ http://www.disaster.go.th/
กรมอุตุนิยมวิทยา หรือเว็บไซต์ www.tmd.go.th
กรมชลประทาน หรือเว็บไซต์ https://www1.rid.go.th/index.php/th/
แนะนำให้กำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล เศษไม้ หรือสิ่งที่จะทำให้ขวางทางน้ำ เพราะเนื่องจาก ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมาจริง ๆ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อตัวเรา อีกทั้งยังขวางทางเดินของน้ำที่จะไหลออกไปอีกด้วย แต่ถ้าไม่ได้เกินสถานการณ์น้ำท่วมก็ถือว่าเป็นการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้น่าอยู่มากขึ้น และหากบ้านไหนสะดวกก็สามารถทำแนวกั้นน้ำชั่วคราว เมื่อเป็นการลดภาวะน้ำท่วมให้เบาลง หรือยืดระยะเวลาที่น้ำจะเข้ามาภายในตัวบ้าน
แบ่งหน้าที่เตรียมรับมือในครอบครัว
วางแผนไว้ล่วงหไน้า และตกลงกันให้เรียบร้อยกับคนในครอบครัว เมื่อถึงเวลาจะได้ไม่เกิดความวุ่นวาย โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย หรือผู้พิการ
นัดหมายสถานที่กับคนในครอบครัวไว้ กรณีที่เกิดต้องเคลื่อนย้ายพื้นที่กระทันหัน หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยอาจเป็นสถานที่ที่เดินทางสะดวก ปลอดภัย และรู้จักตรงพิกัดตรงกันทั้งหมด เผื่อสัญญาณมือถือหรืออินเทอร์เน็ตไม่สามารถใช้งานได้
เมื่อได้รับข่าว หรือเห็นสถานการณ์ผิดปกติ ให้ทำการตัดระบบไฟของบ้านทั้งหมดไว้ก่อน เพื่อป้องกันไฟช็อตหรือไฟรั่วที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต หากพอมีเวลาหรือน้ำยังเข้ามาในตัวบ้านไม่มาก ให้ใช้เทปปิดรูสวิตซ์ไฟไว้เพื่อไม่ให้น้ำเข้าดดยตรง รวมถึงแก๊สหุงต้มด้วย หากเป็นไปได้ในสถานการน้ำท่วมอาจขนออกให้พ้นจากตัวบ้านก่อน
เตรียมขนย้ายหรือจัดเตรียมสถานที่วางสิ่งของ ให้พ้นจากน้ำท่วม โดยอาจเป็นบริเวณชั้น 2 ของบริเวณบ้าน ส่วนสัตว์เลี้ยงและยานพาหนะให้ย้ายไว้ในที่ปลอดภัย ในบางสถานที่จะมีรับฝากหรือรับจอดรถในช่วงสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติด้วย ส่วนนี้ต้องลองติดตามข่าวสาร หรือประกาศอีกที
เตรียมเอกสารสำคัญใส่ซองกันน้ำ พกติดตัวไว้เลย เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สมุดบัญชี โดยอาจทำการถ่ายเอกสารสำเนาไว้อีกชุด เพื่อป้องกันการสูญหายและเป็นการระบุตัวตนเมื่อต้องอพยบออกจากพื้นที่
เตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นไว้ อาจใส่ถุงพลาสติกไว้ เมื่อถึงเวลาฉุกเฉินจะได้หยิบใช้ได้เลย เช่น ถุงดำ มีด นกหวีด กระดาษชำระ เชือก แต่ขอย้ำว่าต้องจำเป็นจริง ๆ สำหรับตนเอง เพราะถ้าพกไว้มากเกินไปจะทำให้ยากต่อการเคลื่อนย้ายตนเอง
กักตุนอาหาร น้ำดื่มสะอาดไว้ เผื่อไม่สามารถออกจากบ้านได้ หรือในขณะที่รอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัย เราจะได้มีแรงที่จะเอาชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยอาจจะเผื่อไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 3 วัน
อุปกรณ์สำรองไฟต้องพร้อมเสมอ เพราะแน่นอนว่าเมื่อน้ำท่วมระบบไฟทุกอย่างจะถูกตัดหมด ดังนั้น ไฟฉาย เทียน ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ อุปกรณ์ไฟทุกอย่างต้องเตรียมไว้เลย เพราะถ้าหวังพึ่งจากมือถือก็อาจจะไม่ได้อยู่ในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยให้ปลอดภัยในการที่เจ้าหน้าที่ค้นหา หรือในช่วงเวลากลางคืน
เตรียมยาสามัญประจำบ้านพื้นฐานติดตัวไว้เลย ยังไงก็ได้ใช้อย่างแน่นอน เช่น ยาแก้ปวด ยาใส่แผล ยาหม่อง เกลือแร่ เป็นต้น หรือในบุคคลที่มีโรคประจำตัวก้ต้องเตรียมความพร้อมพกยาของตัวเองติดตัวไว้ และเก็บในที่ที่สะดวกและหยิบง่ายในการใช้งาน
มือถือคู่ใจ ในบางคนขาดหรือห่างกันไกลไม่ได้เลยกับสิ่งนี้ ดังนั้น ชาร์จแบตมือถือให้เต็ม และในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ ก็หยุดเล่นเกมไปก่อนเลย เพื่อเก็บแบตเตอรี่ไว้ติดตามสถานการณ์ หรือเพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือ และเบอร์ฉุกเฉินทุกเบอร์ต้องมีติดเครื่องไว้ เพราะคนจะต้องติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น อาจจะเผื่อเบอร์ไว้ติดต่อด้วย เพื่อจะได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
โหลดแอปพลิเคขั่นเกาะติดสถานการณ์ไว้เลย ให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ไว้จะได้วางแผนถูก พร้อมกับรอประกาศจากข่าวอีกครั้ง
คอยสังเกตระดับน้ำ หรือบริมาณน้ำในแต่ละวัน และความผิดปกติของน้ำ เช่น มีสีที่เข้มกว่าทุก ๆ วัน หรือมีกระแสน้ำที่ไหลแรงกว่าปกติที่ควรจะเป็น หากเกินกรณีนี้ให้เตรียมรับมือ ขึ้นที่สูง แล้วรีบติดต่อแจ้งทางสาธารณภัยหรือเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่ใกล้ที่สุด
หลายพื้นที่ เมื่อมีน้ำท่วมก็ชอบลงไปเดินเล่น หรือไปเล่นน้ำกันโดยเฉพาะในเด็กซึ่งทางสาธารณภัยก็มีการเตือนมาว่าห้ามเล่นน้ำ หรือการเดินทางขับรถเข้าไปหรือผ่านในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ แนะนำให้เลี่ยงดีกว่า
การเตรียมพร้อมต่อทุกสถานการณ์ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และมีสติอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้คือวิธีรับมือน้ำท่วม หากในพื้นที่ไหนไม่ได้รับผลกระทบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังประมาทในการใช้ชีวิตไม่ได้ ส่วนถ้าพื้นที่ไหนได้รับผลกระทบอยากสถานการณ์น้ำท่วม ทางลีโอวูดขอร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังใจและเป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลที่ได้ช่วยเหลือทุกคน
สนใจดูสินค้าเพิ่มเติมหรือต้องการสั่งซื้อ
คลิก สินค้าของบริษัทลีโอวูด
---------------------------------------
"ไม้พื้นลามิเนต ไม้พื้นSPC ไม้พื้นเอ็นจิเนียร์ ประตูไม้ LEOWOOD"
29 พ.ย. 2564